วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฝึกจิตหรือสมองทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการ(Mental Discipline)

            http://www.th.wikipedia.org/wiki/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงแนวความคิดของ มาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน ทฤษฎีนี้เห็นว่าแรงจูงใจในการกระทำพฤติกรรมของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการรับรู้ (Perceive) สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยความสามารถทางปัญญาเป็นสำคัญ มนุษย์จะได้รับแรงผลักดันจากหลาย ๆ ทางในการแสดงพฤติกรรม ซึ่งในสภาพเช่นนี้ มนุษย์จะเกิดสภาพความไม่สมดุล (Disequilibrium) ขึ้น เมื่อเกิดสภาพเช่นว่านี้มนุษย์จะต้อง อาศัยขบวนการดูดซึม (Assimilation) และการปรับ (Accomodation) ความแตกต่างของประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ให้ ้เข้ากับประสบการณ์เดิมของตนซึ่งการจะทำได้จะต้องอาศัยสติปัญญาเป็นพื้นฐานที่สำคัญทฤษฎีนี้เน้นเรื่องแรงจูง ใจภายใน(intrinsic Motivation) นอกจากนั้นทฤษฎีนี้ยังให้ความสำคัญกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และการวางแผน ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับระดับของความคาดหวัง (Level of Aspiration) โดยที่เขากล่าวว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะตั้ง ความคาดหวังของตนเองให้สูงขึ้น เมื่อเขาทำงานหนึ่งสำเร็จ และตรงกัน ข้ามคือจะตั้งความคาดหวังของตนเองต่ำลง เมื่อเขาทำงานหนึ่งแล้วล้มเหลว
          บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:23) กล่าวไว้ว่าทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ ( Constructivist Theory)
           http://www.th.wikipedia.org/wiki/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ( Classical Conditioning ) ของ ไอวาน พาร์พลอฟ ( Ivan Pavlop ) พฤติกรรมที่จะเกิดการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกได้มักเป็นพฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน อันมีพื้นฐานมาจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การทำงานของต่อมต่าง ๆในร่างกาย การทำงานของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจ พาร์พลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข (conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข (เพราะโดยปกติเสียงกระดิ่งมิได้ทำให้สุนัขน้ำลายไหล แต่คนต้องการให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง) พาร์พลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus) และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (conditioned response)     สรุป นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งหลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
    หนังสืออ้างอิง
      http://www.th.wikipedia.org/wik  เข้าถึงเมื่อวันศุกร์ สิงหาคม 2551      บุญเลี้ยง ทุมทอง.(1/2554).การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต : มหาสารคาม. 

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

              http://www.th.wikipedia.org/wiki/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ ( Insight )เป็นแนวคิดของ โคล์เลอร์ ( Kohler ) ซึ่งการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้นี้เป็นการอธิบายถึง กระบวนการรู้คิด ( Cognitive Processes ) ที่เกิดในระหว่างการเรียนรู้ โดยมีการเน้นความสำคัญของผู้เรียนว่าจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำหรือเป็นผู้ที่ริเริ่มและกระตือรือร้นการนำความรู้ทฤษฎีการหยั่งเห็นไปใช้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมีแนวทางในการนำไปใช้ ดังนี้      
             1. ลักษณะของประสบการณ์การเรียนรู้ (สถานการณ์) ที่เหมาะสม โดยจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ ให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนมีความรู้สะสม มีความชำนาญในการพิจารณาสถานการณ์ และปัญหา ครั้นเมื่อผู้เรียนพบปัญหาใหม่ก็จะเกิดการใคร่ครวญและจัดประสบการณ์เหล่านั้น หาคำตอบหรือวิธีการแก้ปัญหา อันจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็นได้ คือการค้นพบวิธีการ หรือคำตอบได้ในทันทีทันใด
       2. ความแตกต่างทางสติปัญญาของผู้เรียน การเรียนรู้โดยการหยั่งเห็นเป็นการใช้ประสบการณ์และความสามารถทางสติปัญญาประกอบกัน ฉะนั้นผู้มีสติปัญญาสูงย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการหยั่งเห็นได้ดีกว่าผู้มีสติปัญญาต่ำ
       3. แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้แบบการเรียนรู้ได้หลายแบบ เพราะบางแบบเหมาะกับบางคน เมื่อผู้เรียนได้พบแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับตน อาจเลือกไว้เป็นแบบเฉพาะเพื่อการนำไปใช้ ผู้เรียนบางคนอาจเหมาะสมกับการเรียนรู้โดยการหยั่งเห็น บางคนอาจเหมาะสมกับการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือบางคนอาจเหมาะกับการเรียนรู้ทางปัญญา (จากการสังเกต)      
         4.การรู้จักผู้เรียนอย่างแท้จริง ถ้าผู้สอนรู้จักผู้เรียนอย่างแท้จริงย่อมสามารถเลือก และจัดบทเรียน ได้เหมาะสมกับสภาพและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียน ย่อมจะรู้ดีว่าผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางการเรียนสูง มีความสามารถทางการเรียนต่ำ หรือผู้เรียนคนใดเหมาะสมกับสถานการณ์การเรียนรู้แบบใด เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้สอนสามารถที่จะส่งเสริมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนแต่ละคนให้เกิดขึ้นได้ และย่อมเข้าใจในผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
       http://www.th.wikipedia.org/wiki/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงฮาล (Clatk Hull) เป็นหนึ่งในหมู่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มลัทธิพฤติกรรมนิยม[Behavioralism]เช่นเดียวกับ โทลแมน และ สกินนเนอร์ (Guthric Tolman and Skinner) ซึ่งสนใจและศึกษาพฤติกรรมตามแนวความคิดของวัทสัน นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ลดความสำคัญของคำว่า จิตใจและพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำๆ นี้โดยมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรมสังเกตได้ วัดได้ ทดลองและทำซ้ำได้ แสดงหรือพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นการศึกษาตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยเฉพาะฮาล ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีที่ชื่อว่า “Hypothetico-deductive or mathematico deductive” คือความคิดความเชื่อที่ว่าพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับสภาวะแวดล้อมและเป็นไปตามสูตร ดังนี้ (Hull, 1994)sEr = sHr x D X K X V sEr = พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดตามแนวโน้ม S – R ซึ่งขึ้นอยู่กับนิสัยsHr = นิสัย (การกระทำ) เป็นการเสริมแรงตามหลักของจิตวิทยาS – R ประกอบด้วย D และ KD = แรงขับK = สิ่งล่อใจจากภายนอกV = อำนาจการเร้าของ       
       http://www.th.wikipedia.org/wiki/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงกัททรี (Edwin R.Guthrie) เป็นผู้สนใจศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวความคิดลัทธิพฤติกรรมนิยม และนิยมชมชอบคือ อธิบายพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมและเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ เขาเชื่อว่าหลักการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการวางเงื่อนไขและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (สภาวะแวดล้อมภายนอก) กับอินทรีย์ (สภาวะแวดล้อมภายในร่างกาย หลักการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของกัททรี เมื่อสภาวะสมดุลในกระบวนการจูงใจ (Homeostasis) สูญสิ้นไปอินทรีย์จะเริ่มสร้างแรงจูงใจจะสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลเคยเรียนรู้มาแล้ว เช่น การเกิดพฤติกรรมใหม่แต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทแต่ละส่วนที่กระตุ้น เช่นการกระพริบตาเมื่อถูกวางเงื่อนไขโดยการเป่าลมที่ตา ทุกครั้งที่ลูกโป่งสำหรับเป่าลมถูกยกมาบริเวณใกล้ตา ตาจะกระพริบทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ทำการเป่าลมออกมา         
               สรุป
             นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5   และความรู้สึก คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
        หนังสืออ้างอิง   
                 http://www.th.wikpedia.rod/wiki/  เข้าถึงเมื่อวันศุกร์ สิงหาคม 2551

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

         บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:17)กล่าวไว้ว่าทฤษฎีนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษา การจัดการศึกษาให้กับเด็กมีความแต่ต่างจากผู้ใหญ่และสิ่งที่มีความหมายมากคือแนวคิดที่ว่าเด็กที่มีอายุน้อยๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากกิจกรรมการใช้สื่อรูปประธรรม (Ginsburj & Opper, 1969) หากแนวคิดนี้ถูกนำไปใช้ในห้องเรียน ผู้สอนจะต้องเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้และแนะนำผู้เรียนมากกว่าเป็นผู้สอนโดยตรงตามทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget's Theory of Intellectual Development)         
             บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554:18) กล่าวไว้ว่าแนวความคิดของดีนส์ (Diene's Theory of Mathematcs Learning) ส่วนมากเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ซึ่งมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับของเพียเจต์ เช่น ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและกระตือรือร้นในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด          
                  http:// www.kroobannok.com/blog/ ได้รวบรวมและกล่าวถึงหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ในสภาวะการเรียนรู้ในสังคมได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษาเรื่องรูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้และการพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไปถึงระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับการสอนด้วยวิธีให้อย่างเดียวหรือแบบเดียว จะเสียโอกาสในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน          
        สรุป  
                นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
หนังสืออ้างอิง
     
            http://http//www.kroobannok.com/blog  เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2551 
      บุญเลี้ยง ทุมทอง.(1/2554).การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์สหบัณฑิต : มหาสารคาม. 

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ดีใจที่ทำได้

เรียบร้อยแล้ว

ความสุขส่วนตัว

                                                     นางสาวนารีรัตน์ ทาขุนทด 048 กลุ่ม 2