วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ - สกุล  นางสาวนารีรัตน์  ทาขุนทด

ชื่อเล่น  กวาง

วันเดือนปีเกิด  25  มีนาคม  พ.ศ. 2534

อายุ  21 ปี  

ภูมิลำเนา  จังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาอยู่  ชั้นปีที่ 4  หมู่เรียนที่ 2  สาขาคณิตศาสตร์  คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู

คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดี เพื่อวันต่อไป

E-mail : nareerat_bb@hotmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทความนวัตกรรม Google Chrome นวัตกรรม Web 2.0

เราสามารถพูดได้เต็มปากว่าเว็บเบราว์เซอร์เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของคุณ ทั้งนี้เพราะคุณใช้เวลามากมายหมดไปกับการออนไลน์ผ่านเบราว์เซอร์ ไม่ว่าจะเป็นค้นหาข้อมูล แชท อีเมล ซื้อสินค้า ทำธุรกรรมทางธนาคาร อ่านข่าวสาร และดูวิดีโอออนไลน์ คุณมักจะทำทุกอย่างนี้โดยใช้เบราว์เซอร์ เราอ่านเอกสารเพิ่มเติมจากทาง Google ครับ เลยได้ข้อมูล ของ Google Chrome มาเยอะพอสมควร ซึ่งผมก็ทึ่งกับทางกูเกิลมากว่าเค้าแปลภาษาไทยได้เร็วจัง นั้นอาจเป็นเพราะ Engine ของ Google Translate ที่มีความสามารถในการแปลภาษาขั้นสุดยอด เอาหล่ะครับมาดูกันว่าทำไมผมต้องใช้ Google
Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้เว็บรวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายลดความยุ่งยากในการใช้งาน มิติใหม่แห่งเบราว์เซอร์ โดย ซันดาร์ พิชัย และไลนัส อัพซัน ที่กู เกิล เวลาในการทำงานส่วนใหญ่ของเราล้วนวนเวียนอยู่ในเบราว์เซอร์ เราค้นหาข้อมูล พูดคุยสนทนา รับส่งอีเมล์ และทำงานร่วมกันผ่านเบราว์เซอร์ เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป เช่นคุณที่มักจะใช้เวลายามว่าง ซื้อสินค้า จัดการบัญชีธนาคาร อ่านข่าว และติดต่อกับเพื่อนฝูง ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องอาศัยเบราว์เซอร์อีกเช่นกัน ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมากใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น เราทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในแบบที่หลายคนอาจไม่เคยคาดคิดมาก่อนเมื่อมองย้อนกลับไปในยุคที่เรา เริ่มมีเว็บใช้กันเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เพราะว่าเราใช้เวลาอยู่บน โลกออนไลน์มากขึ้น เราจึงเริ่มคิดอย่างจริงจังว่า หากเราเริ่มพัฒนาเบราว์เซอร์ใหม่ตั้งแต่ต้น โดยนำองค์ประกอบเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ที่มีอยู่ ณ ตอนนี้ มาเป็นส่วนประกอบ จะออกมาเป็นเบราว์เซอร์ประเภทไหน เราตระหนักดีว่าหน้าเว็บมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา จากเดิมที่เป็นแค่เพียงตัวหนังสือธรรมดาทั่วไป จวบจนกลายมาเป็นแอพพลิเคชันบนเว็บที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เราต้องกลับมาย้อนคิดเกี่ยวกับเบราว์เซอร์อย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง สิ่งที่เราต้องการจริงๆ ไม่ใช่แค่เบราว์เซอร์ แต่ต้องเป็นทั้งแพลตฟอร์มสำหรับหน้าเว็บและแอพพลิเคชันอันทันสมัยพร้อมๆ กัน และนั่นคือสิ่งที่เราต้องการพัฒนาขึ้นมา ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ ในวันนี้ เราได้เปิดตัวเบราว์เซอร์แบบโอเพนซอร์สใหม่ล่าสุด ในรุ่นทดสอบ คือ Google Chrome เท่า ที่เห็นเบื้องต้น เราได้ออกแบบหน้าต่างของเบราว์เซอร์ ที่ดูเรียบง่ายและให้ความคล่องตัวในการใช้งาน ซึ่งสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวเบราว์เซอร์ แต่เป็นเรื่องของเครื่องมือที่ช่วยรองรับการใช้งานสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกดูหน้าเว็บ เปิดเว็บไซต์ หรือใช้งานแอพพลิเคชันออนไลน์ ทั้งนี้ Google Chrome จึงถูกออกแบบมาให้ดูเรียบง่ายสะอาดตาและทำงานได้รวดเร็ว เหมือนกับหน้าโฮมเพจมาตรฐานของกูเกิล ที่ช่วยพาคุณท่องไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการได้อย่างสะดวกที่สุด เมื่อ มองเข้าไปลึกๆ แล้ว จะเห็นว่า เราได้สร้างรากฐานสำหรับเบราว์เซอร์ที่ช่วยให้ใช้แอพพลิเคชันบนเว็บยุค ปัจจุบันที่มีความซับซ้อน ได้ดียิ่งขึ้น การที่เราแยกการทำงานของแต่ละแท็บออกจากกัน (แต่ละแท็บจะแยกกันออกมาเป็นแต่ละหน้า) ทำให้เราสามารถป้องกันไม่ให้แท็บหนึ่งแท็บใดที่เกิดปัญหา ส่งผลกระทบถึงแท็บอื่นๆ และเป็นการป้องกันผู้ใช้จากเว็บไซต์อันตรายต่างๆ อีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ เรายังได้ปรับปรุงในเรื่องความเร็วและความสามารถโดยรวมทั้งหมด ทั้งนี้ เรายังได้สร้างกลไกที่ช่วยให้ใช้จาวาสคริปต์รุ่นใหม่อย่าง V8 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มพลานุภาพในการใช้เว็บ โดยสามารถรองรับการใช้เว็บแอพพลิเคชันรุ่นใหม่ที่ไม่สามารถทำงานได้บน เบราว์เซอร์ทั่วไปในปัจจุบันได้ นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น Google Chrome ยังต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เราได้ปล่อยชุดทดสอบที่ทำงานบนวินโดวส์ออกมาเพื่อขยายวงความคิดเห็นให้กว้าง ขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ จากผู้ใช้ เช่นคุณ ให้เร็วที่สุด ตอนนี้เรากำลังเร่งพัฒนาเวอร์ชันสำหรับแมคและลินุกซ์ ควบคู่ไปกับการพยายามปรับปรุงการทำงานของ Google Chrome เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้นและเสถียรยิ่งขึ้นไปอีก ต้องขอออกตัวว่า เราเป็นหนี้บุญคุณอย่างล้นเหลือกับโครงการโอเพนซอร์สหลายๆ โครงการ และเราเองก็มุ่งมั่นในการดำเนินรอยตามแนวทางเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง เราใช้องค์ประกอบหลายส่วนจาก WebKit ของ Apple และ Firefox ของ Mozilla ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการโอเพนซอร์สอื่นๆ อีกมากมาย และภายใต้จิตวิญญาณเดียวกัน เราก็พร้อมที่จะเปิดเผยโค้ดโปรแกรมของเราในลักษณะโอเพนซอร์ส เช่นเดียวกัน เรามุ่งหวังที่จะร่วมมือกับชุมชนออนไลน์ทั้งหมดเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้เกิด ความก้าวหน้าบนเว็บต่อไปเรื่อยๆ ทุก วันนี้ มีนวัตกรรมใหม่ๆ และทางเลือกมากมาย ที่ช่วยให้ใช้เว็บได้ดีขึ้น และ Google Chrome ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่เราเชื่อว่าจะทำให้โลกของเว็บดียิ่งขึ้นไปอีก จากที่เรากล่าวไปทั้งหมด การทดสอบ Google Chrome ที่ดีที่สุด คือการลองใช้ด้วยตัวคุณเอง ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ที่ http://www.google.com/chrome
   ที่มาของข้อมูล : http://www.phet.in.th/2008/09/

ผลไม้บำรุงเลือด "บำรุงสุขภาพ"

ผลไม้บำรุงเลือด "บำรุงสุขภาพ" ช่วงนี้ใครรู้สึกว่าขาดเลือดอยู่ละก็วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) มีผลไม้บำรุงเลือด บำรุงสุขภาพ มาฝากกันอีกด้วย ผลไม้นอกจากจะจัดเป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคและมีคุณประโยชน์มากมายก่ายกองแล้ว ในผลไม้ยังอุดมไปด้วยวิตตามินอีกหลายชนิดที่เรายังไม่รู้ และวันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) จะพาคุณๆ มารู้จักกับ ผลไม้บำรุงเลือด ซึ่ง ผลไม้บำรุงเลือด เหล่านี้จะมีคุณประโยชน์อย่างไรกันและมีผลไม้ชนิดใดบ้างที่ช่วยบำรุงเลือดได้เป็นอย่างดี เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็ไม่พลาดที่จะนำ ผลไม้บำรุงเลือด เหล่านี้มาบอกให้คุณๆ ผู้รักสุขภาพและชอบทานผลไม้กันให้รู้อย่างแน่นอน ว่าแล้วเราก็มาเริ่มทำความรู้จักกับ ผลไม้บำรุงเลือด บำรุงสุขภาพ กันเลยดีกว่าค่ะ

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้

          ในปัจจุบันมนุษย์ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมีเป็นที่หนึ่ง เพราะเทคโนโลยีให้ความสะดวกสบาย เป็นเครื่องสื่อสารที่ทันสมัย ใส่ได้สะดวกและรวดเร็วติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลกทั้งการธุรกิจ หรือการปกครอง  ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริม การเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย  ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ  ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล  การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน

รูปแบบหลายมิติในการเรียนการสอน

- ( images.minint.multiply.multiplycontent.com/)สื่อหลายมิติ  คือ  การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง สื่อหลายมิติ(Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพกราฟิกอย่างง่ายๆ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น “ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia)  หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า สื่อหลายมิติ
   
          สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์  มลิทอง.  2540: 269)
 
                สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ  เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์  วิภาวิน, 2542 : 53)  Hypermedia  เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext  อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)
-(http://www.edtechno.com/site/index.php?option-com_content&view)
       รูปแบบของสื่อหลายมิติในการสอนประกอบด้วยอะไร
มีการสำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้นโดยการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวและเสียงต่างๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ
    ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
1)  เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2)  ขยายความเข้าใจ เนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย ฟังคำอธิบาย ฟังเสียงดนตรี เป็นต้น
3)  ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4)  ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5)  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6)  ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน
         สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมติติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรืออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัว จึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล

-(http://www.gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932)สื่อหลายมิติ Hypermedia จึงเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูดเสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง จึงได้มีการนำมาปรับใช้ในการศึกษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความสนใจในบทเรียนจากสื่อหลายมิติ และผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการและตามศักยภาพ โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่างๆแล้วในปัจจุบัน
      ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้แนวทางในการพัฒนาสื่อหลายมิติ โดยทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรือสื่ออื่นๆที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคนแต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมิติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัว จึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่นระบบจะเลือกข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนในแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ความรู้ ประสบการณ์รูปแบบการเรียนรู้ หรือข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ และสามารถปรับเปลี่ยนระบบให้ตอบสนองตรงตามความต้องการสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลสารสนเทศตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. รูปแบบหลัก 2. รูปแบบผู้เรียน 3. รูปแบบการปรับตัว โดยผ่านการติดต่อระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์หรือระบบผ่านแบบฟอร์มจากเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer
สรุป สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว  ในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย  จะทำให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม 
เอกสารอ้างอิง
      http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com/: เข้าถึงเมื่อ         14/06/2554
     http://www.edtechno.com/site/index.php?option-com_content&view: เข้าถึงเมื่อ24/06/2554
    http://www.gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932:เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554
สื่อการสอน
-( http://narissaraenglish.blogspot.com/2007/08/1.html)สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
ประเภทของสื่อการสอนโรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทการสอน ดังนี้   
   
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
(http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194) 
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
       สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมี หน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน       
         1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น 1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น           
2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใคร รู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย         
3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่า นั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ
-( http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107)
 ความหมายของสื่อการสอน  นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษาได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอนไว้อย่างหลากหลาย เช่น    ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพแผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน    บราวน์ และคณะกล่าวว่าจำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้นเช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็น อย่างดี         ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่าวัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการ สื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
        นอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
  สื่อการเรียนหมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอนเร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว   สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุและวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป  โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียนหรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูดการอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
        สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษาให้แก่ผู้ เรียน
  สื่อการสอนมีให้เลือกมากชนิด   สิ่งสำคัญคือผู้สอนจะต้องเลือกและใช้ สื่อการสอนให้เหมาะกับบทเรียน  สื่อการสอนนั้นจะต้องใช้ได้อย่างสะดวกและที่ สำคัญก็คือเมื่อนำมาใช้แล้วช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
สรุป
      สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน  เพื่อเป็นสื่อกลางให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียน  โดยเป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน  จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

เอกสารอ้างอิง
http://narissaraenglish.blogspot.com/2007/08/1.html: เข้าถึงเมื่อ 14/06/2554
http://sps.lpru.ac.th/script/ show_article.pl?: เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107:เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554